วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิจัยย่อครูนอม

วิเคราะห์นวัตกรรมที่ใช้ในการศึกษาวิจัยของนักเรียน

เรื่อง



การสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยของนักเรียน ระดับอนุบาล ๓



เสนอ

ดร. ชฎาภรณ์ สงวนแก้ว













จัดทำโดย

นางสาวประนอม สุขสุแพทย์ รหัสนักศึกษา 53109510021



รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษารหัส 951-201



หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู



วิทยาลัยราชพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี



กิตติกรรมประกาศ



การจัดทำการวิเคราะห์นวัตกรรมฉบับนี้สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เพราะได้รับความช่วยเหลือ เป็นอย่างดีจาก คุณครูวิลัยลักษณ์ ทรัพย์เงิน ครูประจำชั้นระดับอนุบาล 3

โรงเรียน พัฒนวิทย์ ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำที่ดีมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นรวมทั้งเอื้อเฟื้อรูปเล่มงานวิจัย และความช่วยเหลืออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์นวัตกรรมนี้ ผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งและขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง







ผู้จัดทำ

นางสาวประนอม สุขสุแพทย์

































คำนำ



งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย จากการปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และชุดให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ผู้วิจัยจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน และส่งเสริมการมีวินัยในตนเอง ให้เป็นไปตามความประสงค์ เป็นคุณลักษณะทางด้านพฤติกรรมที่ช่วยให้สามารถควบคุมตนเอง และปฏิบัติตนตามกิจกวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานร่วมกับผู้อื่น และส่งผลให้เด็กวัย 5 - 6 ปี เข้าใจบทบาท ความสำคัญของการสร้างมีระเบียบวินัยในตนเองเพื่อการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข รวมทั้งยังเป็นแนวทางให้กับเพื่อนครู ผู้ที่สนใจแก้ปัญหานักเรียนในลักษณะเดียวดันนี้ต่อไป หรือนำไปเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมได้อีกด้วย





ผู้จัดทำ

นางสาววิลัยลักษณ์ ทรัพย์เงิน

มี.ค. 2553



















































ชื่องานการวิจัย การสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยของนักเรียน

ระดับอนุบาล 3 / 2



ชื่อผู้วิจัย นางสาววิลัยลักษณ์ ทรัพย์เงิน



ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นางรัชนี วรฤทธานนท์





บทคัดย่อ



สภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ความเจริญทางวัตถุเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จิต

ใจคนพัฒนาตามไม่ทัน จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ซึ่งพบได้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวันจากความไม่

มีระเบียบ บุคคลขาดการควบคุมตนเองนำไปสู่ปัญหาของสังคมซึ่งควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ด้วยการส่งเสริมให้มีวินัย โดยเฉพาะวินัยในตนเองแก่เด็กตั้งแต่ปฐมวัยการสร้างวินัยในตนเองที่ดีนั้น นอกจากการให้โอกาสเด็กได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาและการสร้างข้อตกลงเพื่อนำไปปฏิบัติในโอกาสต่อไปแล้วยังเกิดความรัก ความอบอุ่น ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เด็กรักและไว้วางใจมากที่สุด ผู้วิจัยจึงได้จัดทำชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างวินัยในตนเองให้แก่เด็กปฐมวัย







(วิลัยลักษณ์ ทรัพย์เงิน)

ผู้วิจัย



















1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา

จากการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นครูผู้สอนประจำระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ในปีการศึกษา 2552ได้พบกับสภาพและปัญหาการขาดระเบียบวินัยของเด็กในชั้นเป็นอย่างมาก ซึ่งได้ทราบมาว่าในช่วง 6 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงที่สำคัญมากที่สุด เป็นระยะวิกฤติที่เด็กสามารถพัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว จึงง่ายต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และสามารถส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ดี ประสบการณ์ที่เด็กได้รับในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาชีวิตที่มีคุณภาพต่อไป( Bloom. 1964 : 215 )การที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าจำเป็นต้องมีประชากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาบุคคลให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ มีคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสังคมและจิตใจรัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการด้านสังคมมากขึ้นโดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพพลเมือง ให้มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถพึ่งตนเองและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข การอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมและการกระทำตัวอย่างที่ดีแก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญแก่เด็กที่จะเลียนแบบ การสร้างวินัยในตนเองที่ดีนั้นจะต้องเกิดจากความรัก ความอบอุ่น ที่ได้รับจากบุคคลในบ้านรวมถึงการอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการและธรรมชาติของเด็ก วินัยในตนเองส่งเสริมได้จากการให้เด็กร่วมกันแก้ปัญหา และปัญหาดังกล่าวนี้มักแฝงอยู่ในกิจกรรมการเล่น และกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การหยิบยกสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะและการตัดสินใจร่วมกัน สร้างข้อตกลงร่วมกันเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาจึงเป็นวิธีการส่งเสริมวินัยในตนเอง ซึ่งเด็กเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเองวินัยในตนเองควรได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ช่วงปฐมวัย โดยความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครองซึ่งเด็กรักและคุ้นเคยมากที่สุด และมีความใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดน่าจะเป็นการส่งเสริมวินัยในตนเองที่มีประสิทธิภาพ โดยการช่วยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก และวิธีการส่งเสริมวินัยในตนเองแก่เด็กปฐมวัยจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม กานต์รัตนพันธ์ (2532 : 67 – 69 ) พบว่า การใช้ชุดให้ความรู้ เป็นวิธีการสื่อสารและมีการบันทึกข้อความจากการสนทนาหรือตอบคำถามของเด็กจากสภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งส่งผลต่อฐานะทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพของบุคคล ทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กไม่มีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะคิดศึกษาว่าวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ใช้ชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเรื่อง “ขอให้หนูคิดเอง” และใช้กิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการช่วยพัฒนาวินัยในตนเองแก่เด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

1.2 กรอบแนวคิดในการวิจัย



การใช้ชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถ การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน รู้จักการคิดแก้ปัญหา

ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

รู้จักควบคุมตนเอง



การใช้กิจกรรมส่งเสริมวินัยใน พื้นฐานการสร้างความมีวินัย การมีวินัย

ตนเองตามปกติในชีวิตประจำวัน



1.3 วัตถุประสงค์

- เพื่อฝึกและส่งเสริมวินัยในตนเองและสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน จากกิจกรรมชุดให้

ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และการใช้กิจกรรมตามปรกติ

ในชีวิตประจำวัน



1.4 ผลที่คาดหวัง

- นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล 3 / 2 มีวินัยในตนเอง และรู้จักการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างเป็น

ระบบ จากการได้ทำกิจกรรมชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

และการใช้กิจกรรมตามปรกติ ในชีวิตประจำวัน



1.5 ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ภาคเรียน



1.6 การดำเนินการ

- การศึกษาครั้งนี้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ทำการทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

วันละ 1 กิจกรรม รวมระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์



1.7 ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การส่งเสริมวินัยในตนเองแก่เด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรม 2 แบบคือ

- การใช้ชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

- การใช้กิจกรรมส่งเสริมวินัยในตนเองตามปกติในชีวิตประจำวัน



ตัวแปรตาม ได้แก่ การฝึกวินัยในตนเอง และการแก้ปัญหา

- การทำกิจกรรม

- การควบคุมตนเอง



1.8 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

เด็กก่อนประถมศึกษา ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนพัฒนวิทย์ จำนวน 27 คน ในภาคเรียนที่ 1/2552



1.9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนมีวินัยในตนเองด้วยชุดให้ความรู้ รู้จักการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบ จากการได้ทำกิจกรรมชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน



ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง



ความหมาย

การควบคุมตนเอง หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใช้วิธีการหนึ่งวิธีการใด หรือหลายวิธี เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไปสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยที่บุคคลนั้นเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายกระบวนการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย และควบคุมตัวแปรทั้งภายในและภายนอกของบุคคล อันจะมีผลต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นด้วยตนเอง (Cormier and Cormier, 1979, p.476 อ้างใน ปภาวดี แจ้งศิริ, 2527, หน้า 4) อาจกล่าวได้ว่า การควบคุมตนเองเป็นกระบวนการควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดเป้าหมายไว้

สำหรับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตนเองนั้น มีหลายทฤษฎีด้วยกัน เช่น การควบคุมตนเองตามทฤษฎีจิตวิทยาวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud อ้างใน ศรีเรือน แก้วกังวาน, 2539.) ซึ่งเชื่อว่าบุคคลทั่วไปจะมีแรงขับอยู่ภายในตนเอง มีลักษณะเป็นจิตไร้สำนึก พร้อมจะแสดงออกตามความต้องการเสมอหากขาดการควบคุมยับยั้ง ดังนั้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมบ่มนิสัย เพื่อให้สามารถควบคุมตนเองได้ในระดับทั่วไป และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จาก การได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้ เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทาง จิตวิทยา ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนดังนั้นผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอนรวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

ทฤษฎีหรือองค์ประกอบของความมีวินัยในตนเองมีอะไรบ้าง

1) มีความรับผิดชอบ

2) มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3) ตรงต่อเวลา

4) มีลักษณะความเป็นผู้นำ

5) มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น

ทฤษฎี ความมีวินัย มีผู้กล่าวว่า วินัยคือคุณลักษณะทางจิตใจ พฤติกรรม และค่านิยม ประชาธิปไตยหรือ ความมีวินัย คือคุณลักษณะทางจิตใจ และพฤติกรรมที่ช่วยให้บุคคลสามารถควบคุมตนเอง และปฏิบัติตนตามระเบียบ กฎ กติกา ของสังคม เพื่อประโยชน์ของตนเองและส่วนรวม

3.1 วิธีการดำเนินการวิจัย

ดำเนินการสอนตามปรกติ ใช้การสังเกตทดสอบ และวิจัยเชิงทดลองกับผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และการใช้กิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน

- การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาอย่างเต็มที่ โดยกระตุ้นให้คิดและแก้ปัญหา ส่งเสริมความเข้าใจและให้โอกาสทำในสิ่งที่สนใจ และฝึกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ง่าย ๆ บทบาทหน้าที่ของครูประการหนึ่งคือ การช่วยเหลือให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาอย่างเต็มที่ โดยกระตุ้นให้เด็กคิดและแก้ปัญหา การที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ดีต้องได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดอยู่เสมอการ คิดเป็นจุดเริ่มต้นให้คนเราแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม การรู้จักคิดจะช่วยให้เด็กนำสิ่งที่ตนเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

- การส่งเสริมวินัยในตนเองตามปกติในชีวิตประจำวัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ เด็กปฐมวัยเป็นวัยทองของชีวิต เด็กจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิต ขึ้นอยู่กับผลของการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก” การกระตุ้นทางตา หู ลิ้นจมูก และกาย ให้เด็กได้ยินได้เห็น ได้สัมผัสและได้เรียนรู้โดยการเล่นตั้งแต่ปฐมวัยการส่งเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยแม้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอาจทำได้โดยการให้ความรู้ การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การอบรมสั่งสอนให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมหรือการรณรงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ

ในการศึกษาครั้งนี้ ข้าพเจ้ามีความสนใจที่จะศึกษา การนำกิจกรรมการใช้ชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน กับการใช้กิจกรรมส่งเสริมวินัยในตนเองตามปกติในชีวิตประจำวันมาจัดให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งผลต่อการสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยของนักเรียน



3.2 นวัตกรรม / เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

- กิจกรรมการใช้ชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

- กิจกรรมส่งเสริมวินัยในตนเองตามปกติในชีวิตประจำวัน



3.3 เหตุที่เลือกใช้นวัตกรรมนี้

เด็กปฐมวัยใน 5 – 6 ปี เป็นวัยที่ควรจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ จะเป็นพื้นฐานและสร้างระเบียบวินัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งเด็กวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา ดังนั้น ข้าพเจ้า จึงนำนวัตกรรมนี้มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาด้านความมีวินัย การแก้ปัญหา ในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากการทำกิจกรรม



3.4 ส่วนประกอบของนวัตกรรม

ชุดให้ความรู้ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์

เมื่อพบสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือมีปัญหาเกิดขึ้นครูสนทนาร่วมกับเด็กถึงสภาพปัญหา สาเหตุ หรือที่มาของปัญหา

3.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบบันทึกการสังเกต

2. ตาราง ชุดให้ความรู้แก่ผู้ปกครองส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

3. กิจกรรมเสริมประสบการณ์



3.6 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนพัฒนวิทย์



3.7 กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจงระดับชั้นอนุบาล 3 / 2



3.8 การดำเนินการทดสอบจากการปฏิบัติจริง ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

- จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พร้อมบันทึกพฤติกรรม

- จัดตาราง ชุดให้ความรู้แก่ผู้ปกครองส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

พร้อมแบบบันทึกพฤติกรรม





































ผลการวิจัย



4.1 นำแบบบันทึกการสังเกตทั้ง 2 กิจกรรมมาสรุปวิเคราะห์



ผลการสรุปวิเคราะห์พฤติกรรม การปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และชุดให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันในระดับชั้นอนุบาล 3 / 2 อยู่ในเกณฑ์ที่แตกต่างกันเด็กวัยนี้ส่วนมากเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นชอบที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มากกว่าที่จะให้ผู้อื่นมาเสนอแนะ ซึ่งใช้เวลาที่เท่ากัน (การประเมิน 2 ครั้งต่อเดือน รวม 12 ครั้ง 6 กิจกรรม) ได้ผลเป็นค่าเฉลี่ยแต่ละด้านดังนี้ ใน 6 กิจกรรม

1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 2.กิจกรรมเสรี 3.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 4.กิจกรรมสร้างสรรค์

5.กิจกรรมกลางแจ้ง 6.กิจกรรมเกมการศึกษา





4.2 ด้านร่างกาย



กิจกรรม ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การรอคอย/แบ่งปัน การแก้ปัญหา รวม ร้อยละ

เคลื่อนไหว/จังหวะ 546 518 528 1,582 81.89

กลางแจ้ง 587 520 513 1,620 83.33

เสริมประสบการณ์ 529 531 511 1,571 80.81

เสรี 537 516 541 1594 82.00

สร้างสรรค์ 496 516 525 1537 79.06

เกมการศึกษา 513 531 556 1600 82.30







4.3 ด้านอารมณ์ จิตใจ



กิจกรรม ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การรอคอย/แบ่งปัน การแก้ปัญหา รวม ร้อยละ

เคลื่อนไหว/จังหวะ 511 524 513 1548 79.63

กลางแจ้ง 534 521 519 1574 80.97

เสริมประสบการณ์ 521 530 500 1591 81.81

เสรี 526 543 540 1609 82.77

สร้างสรรค์ 499 523 545 1567 80.61

เกมการศึกษา 489 543 549 1581 81.33



4.4 ด้านสังคม



กิจกรรม ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การรอคอย/แบ่งปัน การแก้ปัญหา รวม ร้อยละ

เคลื่อนไหว/จังหวะ 498 510 521 1529 78.65

กลางแจ้ง 510 523 521 1554 79.94

เสริมประสบการณ์ 513 525 545 1583 81.43

เสรี 495 529 521 1545 79.48

สร้างสรรค์ 489 512 525 1526 78.50

เกมการศึกษา 521 512 529 1562 80.35



4.5 ด้านสติปัญญา



กิจกรรม ใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การรอคอย/แบ่งปัน การแก้ปัญหา รวม ร้อยละ

เคลื่อนไหว/จังหวะ 513 534 523 1570 80.76

กลางแจ้ง 524 532 534 1590 81.79

เสริมประสบการณ์ 531 535 545 1611 82.87

เสรี 516 545 542 1603 82.46

สร้างสรรค์ 521 536 546 1603 82.46

เกมการศึกษา 519 536 545 1600 82.30































โรงเรียนพัฒนวิทย์

จากการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย ผลจากการสังเกตนักเรียน 27 คน ของห้อง อนุบาล 3/2 ปรากฏผลดังนี้



กิจกรรม ร่างกาย อารมณ์/จิตใจ สังคม สติปัญญา

ดี ปานกลาง ควรเสริม ดี ปานกลาง ควรเสริม ดี ปานกลาง ควรเสริม ดี ปานกลาง ควรเสริม

เคลื่อนไหว/จังหวะ 82 18 - 80 20 - 79 21 - 81 19 -

กลางแจ้ง 83 17 - 81 19 - 80 20 - 81 19 -

เสริมประสบการณ์ 81 19 - 82 18 - 81 19 - 83 17 -

เสรี 82 18 - 83 17 - 79 21 - 82 18 -

สร้างสรรค์ 79 21 - 81 19 - 79 21 - 82 18 -

เกมการศึกษา 82 18 - 81 19 - 80 20 - 82 18 -















สรุปผลวิจัย



5.1 สรุปผลการวิจัย

นักเรียน : ผลในการวิจัยเชิงทดลองของเด็ก ในชั้นอนุบาล 3/2 ปรากฏว่า จากการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยจากการจัด การปฏิบัติกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และชุดให้ความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน พบว่านักเรียนมีระเบียบวินัย รู้จักการอดทน รอคอย การแบ่งปัน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเองจากการทำกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม นักเรียนรู้สึกสนุกสนานตื่นเต้นเมื่อมีกิจกรรมที่ท้าทาย นักเรียนมีความสุขเมื่อได้

รับการเสริมแรงและได้แสดงความคิดเห็นด้วยตนเอง โดยเฉพาะทำให้ส่งผลดีต่อการสร้างเสริมระเบียบวินัยในตนเอง



ครู : ได้ทราบผลการพัฒนาการสร้างเสริมวินัยในตนเอง จากกิจกรรมที่จัดใช้เชิงทดลอง จนได้แนวคิดและเข้าใจปัญหาของนักเรียนที่ขาดวินัยในตนเอง



5.2 ข้อเสนอแนะ

1. จากการวิจัยในครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเต็มสมบูรณ์แบบ มีนักเรียน 4 คน ที่ยังขาดทักษะขบวนการในการสร้างเสริมวินัย บางครั้งขาดความเชื่อมั่นไม่รู้จักแบ่งปัน และไม่อยู่ในกฎ กติกา

2. ควรปรับปรุงกระบวนการและวิธีการ เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้































สรุปการวิเคราะห์เครื่องมือ / นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัย



เรื่อง การสร้างเสริมวินัยในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยของนักเรียนระดับอนุบาล 3



ผลการวิเคราะห์มีดังนี้

ข้อดี

1. เป็นนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. เป็นนวัตกรรมที่สามารถ จัดหาได้ง่าย

3. เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก

4. เป็นนวัตกรรมที่บูรณาการได้กับแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

5. สามารถสื่อสารกับผู้ปกครองและแก้ปัญหาร่วมกัน



ข้อด้อย

1. เป็นนวัตกรรมที่ไม่ค่อยทันสมัยอาจจะสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กได้ ไม่เท่าที่ควร







ข้อเสนอแนะ

1. นวัตกรรมนี้สามารถนำไปใช้ในช่วงรอยต่อระดับประถมต้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น